วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตด ใครคิดว่าไม่สำคัญ

      ช่วงนี้เวลาเข้าเวรผมมักจะเอาถั่วอบมากิน บางวันกินมากไปก็ทำให้เกิดลมในท้องจนต้องปล่อยออกมาหรือที่เรียกว่าตดนั่นเอง ท่านสงสัยไหม้ครับว่าทำไมบางวันตดเราก็มีกลิ่นเหม็น แต่บางครั้งก็มีเพียงแค่ลม วันนี้ลองค้นข้อมูลมาเล่าให้ฟังครับ
         จากการวิจัยของนายแพทย์ไมเคิล ดี. เลวิทย์ อายุรแพทย์จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตาเมดิคัล พบว่าตดเกิดจากการรวมตัวกันของแก้สหลายชนิด เป็นแก้สที่ไม่มีกลิ่น 99 % และที่มีกลิ่นเพียง 1 % ซึ่งเกิดจากการหมักหมมของอาหารในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดแก้สพวกกำมะถันเช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารที่มีกลิ่นเฉพาะตัว โดยปกติคนเราจะขับแก้สส่วนเกินออกจากร่างกายได้ 2 ทางคือการขับออกทางปากและทางทวารหนัก หากแก้สไม่ถูกขับออกจะมีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร ทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้องดังนั้นการผายลมจึงเป็นการแก้ปัญหาของร่างกายเราอย่างหนึ่ง แก้สในร่างกายของคนเราเกิดขึ้นจาก 2 องค์ประกอบคือ
   1. แก้สจากภายนอก มีมากถึงร้อยละ 90 เป็นลมที่เข้ามาทางจมูกและปาก จากการพูดหรือบริโภคอาหารซึ่งเรามักกลืนอากาศเข้าไปด้วย
   2. แก้สที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย มีเพียงร้อยละ 10  เกิดจากแบคทีเรียในลำใส้ใหญ่ทำปฏิกิริยาย่อยสลายกากอาหาร เมื่อรวมตัวกันแล้วจะเคลื่อนที่จากลำไส้ใหญ่ แม้ว่าผนังลำไส้จะดูดซึมแก้สเหล่านี้ไว้ได้ แต่บางครั้งร่างกายก็ขับแก้สเหล่านี้ออกทางไส้ตรงเพราะดูดซึมแก้สไม่ทัน หรืออาจเป็นเพราะการกินอาหารที่ก่อให้เกิดแก้สมากเช่นถั่ว นม จึงเกิดลมในท้องมากและขับออกมาเป็นตด
         การผายลมบ่อย ๆ แสดงว่ามีลมหรือแก้สในท้องมาก หากลมออกมาได้ แรงดันในท้องก็จะลดลง การผายลมจึงเป็นข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพราะหากคุณไม่ผายลมเลยแสดงว่ามีความผิดปกติ เช่นเป็นโรคลำไส้อุดตัน ดังนั้นการผายลมจึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งที่ควรสังเกตก็คือเรื่องของกลิ่น หากมีกลิ่นเหม็นรุนแรง อาจบ่งบอกได้ว่าในลำไส้ของคุณมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพปริมาณมาก อาการของโรคบางอย่างมีผลให้เกิดการผายลมบ่อย ๆได้ เช่นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอับเสบ เมื่อกินอาหารเข้าไป กระเพาะไม่ทำงานและอาหารก็ไม่ถูกย่อย พอไปถึงลำไส้ใหญ่  แบคทีเรียจะมาทำหน้าที่ย่อยต่อ เมื่อย่อยมากก็จะเกิดแก้สมาก หรือคนที่ป่วยเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อถุงน้ำดีไม่ทำงานย่อยสลายไขมันไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืดและผายลมอยู่บ่อย ๆ รวมทั้งผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคตับอ่อนอับเสบ ท้องผูกล้วนเป็นสาเหตุของการผายลมบ่อย
   จะเห็นได้ว่าหากเราหมั่นสังเกตตัวเราเองเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น แม้แต่การตดที่มากเกินไปเราก็ไม่ควรจะนิ่งนอนใจ รีบไปตรวจร่างกายก่อนที่จะสายเกินไป 
                ขอบคุณข้อมูลจากชีวจิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น